An asian person, who identifies as she/her they/them, smiles while wearing glasses and a yellow sweater. They are in a building setting with windows and multiple floor levels behind them.

Asama Lekbua

Microbiology, Microbiome & Systems Biology

She/Her, They/Them

I was born in the south of Thailand, but I have lived in twelve cities and two countries. Lack of childcare resources meant I grew up at my mom’s workplace – the hospital. From an early age, I was intrigued by invisible things that caused illnesses – why did some people have tuberculosis, while others didn’t? 

My nomadic upbringing shaped my interest in community dynamics. When I was thirteen, my mom and I uprooted our lives and emigrated to the United States. We struggled with financial, educational, and cultural assimilation. During these difficult times, I busied my mind with schoolwork and found solace in the logic, order, and reason of math and science. My undergraduate studies were funded by the Ujima Scholarship for underrepresented minority (URM) students because my place in higher education was often limited by my accent, my non-conforming gender expression, and the color of my skin. 

Because I was interested in science, I was advised to join a research lab. However, I did not have the opportunity to work at a lab during high school. When I applied to labs during college, they all initially rejected me, citing my lack of previous lab experience. This is a common experience that bars URM students from pursuing their aspirations. I kept on searching for a lab until I was able to convince a graduate student mentor that he could rely on me to show up. And I always did! Like many others, starting in a lab meant helping maintain the lab; I didn’t mind these mundane tasks because I was happy to be in an oasis of curious people. I loved the logical thinking we used to understand  microbial community dynamics in different systems, from food, to soil, to the human body. 

Being the first in my family to get an education in the U.S. positioned me on a path to pursue science and help uplift others: to positively affect my community dynamics. I wanted to help others recognize their needs and utilize all available tools to pursue their future. To date, I have dedicated over 7,000 hours to advocating for URM students and leading science outreach projects in academia and the biotech industry, such as discussing microbial community dynamics in our guts while dressed as a poop emoji at science fairs and public libraries.

I hope to achieve my goals of conducting impactful microbiome research, increasing representation in academia, and contextualizing scientists’ place in the community. Whether it be in my new hometown or in a new biological system, I strive to understand leaders and helpers, their interactions, conflicts, and cooperation. At the end of the day, I always seek to learn from how communities interact and thrive. 


ฉันเกิดที่ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ทางภาคใต้ของประเทศไทย และเคยอาศัยอยู่ใน 12 เมืองใน 2 ประเทศ ฉันใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กในโรงพยาบาลซึ่งเป็นที่ทำงานของแม่ซึ่งย้ายไปตามจังหวัดต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ฉันเกิดคำถามว่าทำไมบางคนจึงเป็นวัณโรค แต่บางคนจึงมีสุขภาพแข็งแรง และสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตใดที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าทำให้คนเหล่านั้นต้องเจ็บป่วย

         การย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้งในวัยเด็กทำให้ฉันสนใจในพลวัตของชุมชน (community dynamics) เมื่ออายุ 13 ปี ฉันและแม่ได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เราสองคนแม่ลูก ประสบความลำบากทั้งด้านการเงิน การศึกษา และการปรับตัวเข้ากับสังคมอเมริกัน แต่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ฉันง่วนอยู่กับการเรียนและเริ่มสนุกกับตรรกะและความเป็นเหตุผลของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ฉันได้รับโอกาสในการเรียนในระดับปริญญาตรีจาก Ujima Scholarship สำหรับนักเรียนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับโอกาส (Underrepresented Minority: URM)  เหตุที่ฉันได้รับคัดเลือก อาจเป็นเพราะฉันมีสำเนียงการพูด เพศสภาวะ หรือสีผิวที่ไม่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่มีพลังทางสังคม

         ฉันสนใจวิทยาศาสตร์และได้รับคำแนะนำให้ไปหาประสบการณ์ทำวิจัย ในช่วงแรก ฉันมักถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าฉันไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน คำปฏิเสธเหล่านี้อาจกีดขวางความสนใจใคร่รู้ของใครหลายคน แต่ไม่ใช่สำหรับฉัน ฉันยังคงแน่วแน่ตามหาห้องแลบต่อไป และในที่สุด ฉันก็สามารถเอาชนะใจนักศึกษาระดับบัณฑิตคนหนึ่งและได้โอกาสเข้าไปทำงานในแลบของเขา ฉันไม่ต่างจากนักศึกษาฝึกงานคนอื่น ๆ ทำงานทั่ว ๆ ไปในแลบ ไม่รู้สึกลำบากใจกับงานที่ไม่น่าตื่นเต้นพวกนี้ แต่รู้สึกมีความสุขที่อยู่ได้มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยผู้คนที่กระหายความรู้ ฉันชอบความคิดที่มีตรรกะ และเริ่มเข้าใจพลวัตชุมชนของจุลินทรีย์ในหลากหลายระบบในอาหาร ดิน และในร่างกายมนุษย์

         ฉันเป็นคนแรกในครอบครัวที่ได้รับการศึกษาในสหรัฐอเมริกา  โอกาสที่ยิ่งใหญ่นี้ทำให้ฉันตั้งใจเรียน และช่วยเหลือผู้อื่น และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อชุมชนของฉัน ฉันต้องการช่วยเหลือผู้อื่นโดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรู้จักตนเองและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่เพื่ออนาคต จวบจนวันนี้ ฉันได้ใช้เวลาไปกว่า 7000 ชั่วโมงไปกันการให้คำแนะนำแก่นักเรียน URM และจัดโครงการเผยแพร่วิทยาศาสตร์ไปสู่ผู้คนในแวดวงนักวิชาการและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ตัวอย่างเช่น ฉันชักจูงให้ผู้คนสนใจเกี่ยวกับพลวัตของชุมชนจุลินทรีย์ในลำไส้ โดยแต่งกายเป็นตัวการ์ตูนอุจจาระในนิทรรรศการวิทยาศาสตร์และห้องสมุดสาธารณะ

         ฉันหวังว่าจะบรรลุเป้าหมายในการสร้างองค์ความรู้ด้านไมโครไบโอมที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง เพิ่มความหลากหลายในแวดวงวิชาการ และสร้างพื้นที่ของนักวิทยาศาสตร์ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเมืองหรือระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต ฉันมุ่งมั่นที่จะเข้าใจบทบาทของผู้นำและผู้ช่วยเหลือ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ และในที่สุด ฉันอยากจะเข้าใจพลวัตของชุมชนและเรียนรู้ว่าชุมชนหนึ่ง ๆ มีปฏิสัมพันธ์อย่างไร และปฏิสัมพันธ์นั้นทำให้ชุนชนเติบโตได้อย่างไร

Image
Image
A dark blue graphic with white text and a green button that says Donate Today